ปัจจัยเสี่ยง
ได้แก่ อายุมากกว่า 50 ปี ขึ้นไป
เพศชายมีความเสี่ยงมากกว่าเพศหญิง มีประวัติครอบครัวเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ค่อยรับประทานผักและผลไม้การรับประทานอาหารปิ้งย่าง
รมควัน หมักดอง อาหารเค็มจัด รวมไปถึง การติดเชื้อแบคทีเรียเฮอริโคแบคเตอร์ ไพโรไร
เป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่อยู่ในกระเพาะอาหาร
ซึ่งเมื่อติดเชื้อนี้จะทำให้มีอาการอักเสบ เกิดเป็นแผลในกระเพาะอาหาร เมื่อสะสมเป็นเวลานาน
มีโอกาสเกิดเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารตามมาได้
การวินิจฉัยทำได้โดย
การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน
(Gastroscopy) เป็นการสอดเข้าทางปาก
ผ่านหลอดอาหาร สู่กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น เพื่อหาบริเวณที่ผิดปกติ
ตรวจดูรูปร่างเนื้องอก ขนาด ตำแหน่ง รอยโรค และตัดชิ้นเนื้อบริเวณที่สงสัยไปตรวจหาเซลล์มะเร็ง
พบว่าวิธีนี้มีความถูกต้องแม่นยำสูงกว่า
การเอกซเรย์กลืนแป้ง
โดยจะให้ผู้ป่วยกลืนน้ำที่ผสม barium ซึ่งเป็นสารทึบรังสี
โดยน้ำกลืนนั้นจะไปเคลือบที่ผิวของหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร
แล้วมีการถ่ายภาพเอกซเรย์เพื่อตรวจดูเนื้อเยื่อผนังกระเพาะอาหารเป็นระยะๆ
การส่องกล้องตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
(endoscopic ultrasonography, EUS) โดยให้ผู้ป่วยกลืนเครื่องมือลงไป สามารถเห็นชั้นต่างๆของกระเพาะอาหารได้
ทำให้ทราบความลึกของโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้ชัดเจน อีกทั้งยังตรวจหาการกระจายของมะเร็งไปยังต่อมน้ำเหลืองใกล้กระเพาะอาหาร
ซึ่งจะเห็นขนาดของต่อมน้ำเหลืองที่โตขึ้น
การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้อง
(CT scan) ทำให้เห็นอวัยวะภายในแบบสามมิติ
โดยถ่ายภาพตั้งแต่หน้าอกส่วนล่างถึงบริเวณกระดูกเชิงกราน
ซึ่งใช้ตรวจว่ามะเร็งกระเพาะอาหารแพร่กระจายไปส่วนไหนบ้าง
การรักษา
เมื่อเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร
การดูแลรักษาจะแตกต่าง ขึ้นอยู่กับระยะของมะเร็ง โดยมะเร็งกระเพาะอาหารจะมี 4 ระยะ แบ่งเป็น
ระยะเริ่มแรก ระยะลุกลาม ระยะสุดท้าย
มะเร็งระยะเริ่มแรก หรือ ระยะที่ 1 คือ
มะเร็งที่กินลึกเพียงชั้นผิว แต่ไม่ลึกถึงกล้ามเนื้อกระเพาะ มักไม่มีอาการ
หรือมีอาการปวดท้องโรคกระเพาะเป็นๆหายๆ
ระยะนี้สามารถตรวจได้จากการคัดกรองเบื้องต้นคือการส่องกล้อง
ถ้าตรวจพบจะทำการตัดชิ้นเนื้อหรือเนื้องอกมีโอกาสหายขาดได้
ถ้าไม่ได้รักษามะเร็งในระยะนี้มีโอกาสกระจายไปต่อมน้ำเหลือง
มะเร็งระยะลุกลาม คือ ระยะที่ 2และ3 มะเร็งที่มีความลึกไปถึงชั้นกล้ามเนื้อ หรือผิวด้านนอกของกระเพาะอาหาร
มีโอกาสกระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองมากขึ้น
การรักษาคือการผ่าตัดกระเพาะอาหารร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด
มะเร็งระยะสุดท้าย คือ ระยะที่ 4 คือ
มะเร็งที่กระจายไปตามอวัยวะต่างๆ การรักษาในระยะนี้นอกจากการผ่าตัด ให้ยาเคมีบำบัด
จะต้องดูแลแบบประคับประคองให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ในช่วงสุดท้ายของชีวิต
ขอขอบคุณแหล่งที่มา
บทความและรูปภาพจาก : https://www.bangkokpattayahospital.com/th/healthcare-services/gi-liver-center-th/gi-articles-th/item/2769-stomach-cancer-th.html