ผักชี ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ

ชื่อสมุนไพร  ผักชี

ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น  ผักไล (ทั่วไป), ผักหอมป้อม (ภาคเหนือ) , ผักหอมน้อย (ภาคอีสาน) , ผักหอม(นครพนม),ยำแย้ (กระบี่) ,พังไฉ่ (จีนแต้จิ๋ว) ผักกี ( ไทยใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์  Coriandrum sativum  L.

ชื่อสามัญ  Coriander, Cilantro, Chinese parsley

วงศ์  APIACEAE-  UMBELLIFERAE

 

ถิ่นกำเนิดผักชี

ผักชีเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในแถบเมดิเตอร์เรเนียน อินเดีย และเอเซียตะวันตก ถือได้ว่าเป็นเครื่องเทศที่มีการใช้กันมาอย่างยาวนาน มีหลักฐานการปลูกในประเทศอียิปต์นานกว่า 3,500 ปี ซึ่งคำว่า “Coriander” มาจากภาษากรีก “Koris” แปลว่า bug เนื่องจากกลิ่นของลูกผักชีมีกลิ่นเฉพาะคล้าย bed bug  ต่อมาก็มีการนำไปปลูกยังประเทศในทวีปยุโรปและเอเชีย สำหรับผักชีที่นำไปปลูกในจีนนั้น เล่ากันว่าได้มีการนำเมล็ดพันธุ์จากประเทศทางตะวันตกของจีนเข้าไปในราชวงศ์ฮั่น เมื่อประมาณ 1,600 ปีมาแล้ว สำหรับประเทศที่ปลูกและส่งออกผักชีมากที่สุดในปัจจุบัน คือ ประเทศอินเดีย และมอรอคโค สำหรับในประเทศไทยแหล่งเพาะปลูกสำคัญ ๆ ได้แก่ จังหวัดราชบุรี นครปฐม และกรุงเทพมหานคร

 

ประโยชน์และสรรพคุณผักชี

ประโยชน์ของผักชีที่เราใช้กันเป็นประจำ เช่น ใช้โรงหน้าอาหารต่างๆ ได้แก่ ต้มยำ แกงจืด ซุป หรือ พวกยำ ต่างๆ รวมถึงใช้รับประทานเป็นผักสด แนมกับอาหารอื่นๆ หรือใช้แต่งหนาอาหารต่างๆ เป็นต้น ผลเป็นเครื่องเทศแต่งกลิ่นในอุตสาหกรรม ขนมหวาน เหล้า และเครื่องแกงต่างๆ ไส้กรอก เป็นต้น น้ำมันจากผลใช้แต่งกลิ่นเครื่องดื่ม และขับลม และในปัจจุบันยังมีการใช้ ผล (เมล็ดผักชี) เป็นเครื่องเทศแต่งกลิ่นในอุตสาหกรรม ขนมหวาน เหล้า และเครื่องแกงต่างๆ ไส้กรอก เป็นต้น

·      แก้พิษตานซาง

·      ขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ

·      บำรุงธาตุ

·      แก้สะอึก

·      แก้กระหายน้ำ

·      แก้คลื่นไส้อาเจียน

·      เป็นน้ำกระสาย

·      ยาแก้อาเจียน

·      แก้ตาเจ็บ

·      แก้ลมวิงเวียน

·      บำรุงกระเพาะอาหาร

·      ทำให้เจริญอาหาร

·      แก้บิด

·      แก้ถ่ายเป็นเลือด

·      คั่วบดผสมสุรากินแก้ริดสีดวงทวารมีเลือดออก

·      ต้มเอาน้ำอมบ้วนปาก แก้ปวดฟัน แก้เจ็บในปากคอ

·      ขับเหงื่อ

·      แก้ปวดศีรษะ

·      ช่วยกระทุ้งพิษไข้หัว

·      รักษาเหือดหิด อีสุกอีใส

 

รูปแบบและขนาดวิธีใช้

-         เด็กออกหัด ต้องการหัดออกเร็วขึ้น ใช้ต้นสด 100 กรัม หั่นฝอยใส่เหล้า 2 แก้วใหญ่ ต้มให้เดือดโดยใช้ฝาครอบไว้ เพื่อป้องกันกลิ่นหายไปหมด ปล่อยให้เย็น เอากากออก นำน้ำมาพรมและทาที่หลัง ขาหน้าอก และท้อง อย่าทาหน้า หรือใช้เมล็ดผักชีแห้งประมาณ 120 กรัม ใส่หม้อดินหรือหม้อเคลือบ แล้วใส่น้ำพอควรต้ม (ควรใช้เตาถ่านต้มเพราะไฟจะไม่แรงเกินไปและถ่านจะค่อยๆมอดไปเอง) วางไว้ในห้องที่ไม่มีลมโกรก (ควรเป็นห้องเล็กๆ) รมไอที่ต้มเมล็ดผักชี จนผื่นออกทั่วตัวแล้วจึงหยุดบิดถ่ายเป็นเลือด ใช้ผล 1 ถ้วยชา ตำให้แตก

-         บิดถ่ายเป็นเลือด ผสมน้ำตาลทรายบิดถ่ายเป็นมูก ใช้น้ำขิงสดอุ่นผสมเหล้ากินตอนอุ่นๆริดสีดวงทวารมีเลือดออก ใช้ผลคั่วบดแตกผสมเหล้ากินวันละ 5 ครั้ง หรือใช้ต้นสด 120 กรัมใส่นม 2 แก้วต้มผสมน้ำตาลกิน

-         ปวดฟัน ปากเจ็บ คอเจ็บ ใช้เมล็ดใส่น้ำ 5 ส่วน ต้มให้เหลือ 1 ส่วน เอาน้ำอมบ้วนปาก

-         ท้องอืดเฟ้อ ปวดท้อง ใช้ผล 2 ช้อนชา ต้มน้ำกิน

-         สตรีไม่มีน้ำนมหลังคลอด ต้มผักชีตากแห้ง (หรือสดก็ได้) จำนวนพอควร ต้มน้ำกินเป็นประจำ หรือจะต้มหัวปลาช่อนแล้วใส่ขิงและผักชีลงไปก็ได้จะช่วยให้มีน้ำนมไหล

-         ปวดท้อง (มีอาการเย็นบริเวณท้อง) และระบบย่อยอาหารไม่ดี ใช้เมล็ดผักชีพอประมาณดองเหล้าองุ่นทิ้งไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ แล้วดื่มวันละ 1-2 แก้ว (เป็กกินเหล้า) หลายๆวันติดต่อกัน

-         ต้นสด ตำพอกขมับทำให้เย็น แก้ปวดศีรษะ น้ำคั้นใช้ทาผื่นแดงคันอักเสบ

-         ต้นสด ต้มน้ำกิน แก้ไอ หวัด อาหารเป็นพิษ

-         ต้น แก้ไข้ ช่วยย่อย แก้สะอึกและกระหายน้ำ คลื่นไส้อาเจียน

-         ผล บดเป็นผงแช่น้ำ หรือใช้ผลบดผงผสมน้ำตาลคั่วไหม้ บดเป็นผงให้เด็กกินแก้ปวดท้อง ร้อนในกระหายน้ำ และใช้แก้เจ็บคอไอ เยื่อเมือกอักเสบ

-         ช่วยขับเหงื่อ ละลายเสมหะใช้ต้นสดประมาณ 60 กรัมนำไปต้มกับน้ำดื่ม หรือจะคั้นเอาเฉพาะน้ำมาดื่มแก้อาการก็ได้

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

-         ผู้ป่วยโรคไตไม่ควรทานมาก เพราะผักชีมีโพแทสเซียมสูง อาจเป็นอันตรายได้

-         ควรระวังในคนที่มีประวัติแพ้พืชวงศ์ผักชี (Apiaceous) หรือคนที่มีประวัติแพ้ คึ่นช่าย (Celery), ยี่หร่า (Caraway), เทียนข้าวเปลือก (Fennel), เทียนสัตตบุศย์ (Anise), กระเทียม, หอมใหญ่

-         อาการแพ้ที่พบได้ คือ ผื่นแพ้สัมผัส (Contact dermatitis) และทำให้ผิวไวต่อแสงแดดซึ่งมีผลที่จะทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง, เยื่อบุจมูกและตาอักเสบจากภูมิแพ้ (Rhino conjunctivitis), และหลอดลมเกร็งตัว (Bronchospasm)

-         การใช้ทางผิวหนัง อาจทำให้แพ้ได้ถ้าถูกแสง เนื่องจากผลผักชีมีสารกลุ่มคูมาริน

-         ผู้ที่มีกลิ่นปาก(รวมทั้งฟันผุ) กลิ่นรักแร้แรงหรือเป็นฝี ไม่ควรกินผักชี เพราะจะทำให้กลิ่นต่างๆ หรือฝีมีอาการรุนแรงขึ้น

ที่มา https://www.disthai.com