ถ้าไม่อยากสมองพัง
สมองฝ่อ เป็นอัลไซเมอร์ก่อนวัยอันควร ต้องหยุด! หยุดพฤติกรรมทั้ง 8 เหล่านี้
ก่อนจะเกินเยียวยา
1.
ตื่นปุ๊บ เล่นมือถือปั๊บ ทำร้ายสมองโดยตรง!
การเล่นมือถือ เล่นโซเชี่ยลหลังตื่นนอน จะทำให้เราจะถูกถาโถมด้วยข้อมูลข่าวสารมากมาย
ทั้งข่าวโรคโควิดระบาด ฝุ่นPM2.5 ข่าวดราม่า เรื่องชาวบ้าน
สิ่งเหล่านี้ทำให้เราเป็นกังวล และเครียดได้
คำแนะนำ
: เมื่อตื่นแล้ว ควรทำสมาธิสักครู่ สัก 3 นาที หรือนึกแต่เรื่องดีดีที่ทำให้มีความสุข
ทิ้งเรื่องรกสมองไปก่อน
2.
นอนหลับไม่เพียงพอ!
หากปล่อยให้นอนหลับไม่พอบ่อย ๆ
สมองจะลืมสิ่งที่เคยทำ หรือสิ่งที่คิดว่ากำลังจะทำ
ซึ่งแม้แต่การนอนให้มากขึ้นในวันถัดไป ก็ไม่สามารถนำความจำส่วนนั้นกลับมา
จนกระทั่งอาจถึงขั้นจดจำการทำอะไรง่าย ๆ ไม่ได้
คำแนะนำ
:
ไม่ควรเข้านอนเกินสี่ทุ่ม ถึงห้าทุ่ม และควรนอนให้ได้อย่างน้อย 7
ชั่วโมงต่อวันในห้องที่เงียบสงบ เพื่อให้การนอนมีคุณภาพมากที่สุด (deep
sleep)
3.
หายใจเอามลพิษทางอากาศเป็นประจำ!
สมองเป็นอวัยวะที่จำเป็นต้องใช้ออกซิเจนมากที่สุดในร่างกาย
การอยู่ในพื้นที่ที่มีออกซิเจนน้อย หรือในสถานที่ที่มีฝุ่นมาก โดยเฉพาะ ฝุ่นPM2.5
จะส่งผลต่อการทำงานของสมองทั้งในระยะสั้น และระยะยาวได้
คำแนะนำ
:
เลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีฝุ่นมาก หรือออกซิเจนน้อย
และสวมหน้ากากอนามัยเป็นประจำเมื่อต้องออกไปเผชิญฝุ่นข้างนอก
4.
สูบบุหรี่จัด!
ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ นอกจากทำให้เป็นมะเร็งปอดแล้ว
ยังทำให้ร่างกาย และสมองได้รับออกซิเจนลดลง และเป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดสมอง
คำแนะนำ
:
การสูบบุหรี่ ก่อให้เกิดผลเสียมากมาย ไม่มีประโยชน์เลย จึงควรพยายาม ลด ละ เลิก
ให้ได้
5.
ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ!
การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก ทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพสมองทั้งในระยะสั้น
และระยะยาว ทั้งเรื่องความจำ ความคิด ความเข้าใจ การใช้เหตุผล พฤติกรรมการแสดงออก
การเคลื่อนไหว บุคลิก และอารมณ์
คำแนะนำ
:
ควรลด ละ เลิกแอลกอฮอล์ เช่น ดื่มไม่เกิน 3 วัน ใน 1 สัปดาห์ หรือ
เดือนละครั้ง และควรกำหนดปริมาณไม่ให้มากเกินไปในแต่ละครั้ง
6.
ไม่ค่อยพูด โลกส่วนตัวสูงเกินไป!
คนที่โลกส่วนตัวสูง หรือคนที่ไม่ค่อยได้เข้าสังคม
มีความเสี่ยงที่สมองจะมีประสิทธิภาพการทำงานลดลง การพูดน้อย
บ่อยครั้งจัดเป็นรูปแบบหนึ่งของภาวะเสียการสื่อความ (aphasia) ซึ่งเป็นความพิการทั่วไปของสมรรถภาพทางภาษา
มักเกิดกับความพิการทางเชาวน์ปัญญา และภาวะสมองเสื่อม
คำแนะนำ
:
ออกไปพบปะผู้คน เพื่อนฝูง พูดคุย โต้ตอบบทสนทนาอย่างสม่ำเสมอ
ไม่เก็บตัวเงียบอยู่คนเดียว
7.
ทานแต่เครื่องดื่ม หรือของหวานที่มีน้ำตาลมากเกินไป!
น้ำตาลมันร้าย ทำลายอวัยวะ กระทบถึงสมอง!
หลายคนคงทำดีแล้วว่า ถ้าร่างกายได้รับน้ำตาลมากเกินไปก็จะทำให้เป็น โรคเบาหวาน ได้
และโรคเบาหวาน คือหนึ่งในตัวการทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อม (Dementia) ซึ่งเกิดได้หลายช่วงอายุ
คำแนะนำ
:
เลี่ยงของหวาน หรือเติมหวานให้น้อยลง ง่าย ๆ แค่นี้ ก็จะทำให้ห่างไกลโรคร้ายที่มาพร้อมน้ำตาลแล้ว
8.
ไม่ค่อยดื่มน้ำ!
สมองมีน้ำถึง 80 เปอร์เซ็นต์
ที่คอยหล่อเลี้ยงสมองตลอดเวลา ถ้าดื่มน้ำไม่พอ สมองจะค่อย ๆ แย่ลง ทำให้หัวตื้อ
คิดอะไรไม่ออก
คำแนะนำ
:
ฉะนั้นหลังตื่นนอน ต้องดื่มน้ำก่อน 1-2 แก้ว ก่อนเลยเป็นอันดับแรก เพราะช่วงนอน 7-8 ชั่วโมง ร่างกายไม่ได้น้ำเลย น้ำถูกใช้ไปหมด จึงเป็นเรื่องสำคัญ
แล้วรับประทานน้ำให้ได้วันละ 7-8 แก้ว
9.
ชอบนอนคลุมโปง!
ใครที่ชอบนอนเปิดแอร์เย็น ๆ แล้วห่มผ้าคลุมโปง
ควรรู้ไว้ว่า เป็นพฤติกรรมที่ไม่ดีต่อการหายใจ ลามไปถึงสมอง
เพราะการนอนเอาผ้าห่มคลุมโปงจะทำให้อากาศในการหายใจมีจำกัด และไม่ถ่ายเท
ส่งผลให้มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ใต้ผ้าห่มมากขึ้น
ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งที่ทำให้สมองของเราด้อยประสิทธิภาพลงได้
คำแนะนำ
:
ควรนอนหลับในห้องนอนที่มีการถ่ายเทอากาศดี และห่มผ้าถึงช่วงอกก็พอ
10.
ความเครียดรุนแรงในชีวิต
สำนักข่าว BBC เผย นักวิจัยจากคณะแพทยศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์
มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน ของสหรัฐฯ ประสบการณ์ที่สร้างความเครียดรุนแรงในชีวิต
เช่นการที่ลูกหลานตายจากไป หย่าร้าง หรือถูกให้ออกจากงาน
จะทำให้สมองเสื่อมประสิทธิภาพเหมือนแก่ขึ้นกว่าเดิมอย่างน้อย 4 ปี
คำแนะนำ
:
พยายามปล่อยวาง ลดความเครียดลง ฝึกนั่งสมาธิ
11.
การฝืนร่างกาย ทำงานหนักในวันที่ป่วย!
หากป่วยแล้วแพทย์สั่งให้นอนพัก ก็ควรนอนพัก
เพราะการใช้สมองทำอะไรก็ตามในช่วงที่ป่วย สมองจะต้องทำงานเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า
เป็นการทำร้ายสมองทางอ้อมแบบที่เราเองไม่รู้ตัวกันเลย
คำแนะนำ
:
ปล่อยวาง ปล่อยงาน พักผ่อนเยอะ ๆ ในยามป่วยไข้ ไม่สบาย หายดีก่อน
แล้วค่อยลุยงานต่อยังได้
12.
การขาดอาหาร และการอดอาหารเช้า!
การขาดสารอาหารบางชนิด เช่น วิตามิน B1, B12, Folic Acid หรือการอดอาหารเป็นประจำ
โดยเฉพาะอาหารเช้า มีส่วนทำให้เป็นโรคสมองเสื่อมได้ หรือที่รู้จักกันดีคือ
“อัลไซเมอร์”
คำแนะนำ
:
บำรุงสมองด้วยการทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสมอง และไม่อดอาหาร โดยเฉพาะอาหารเช้า
ที่มา
https://www.gedgoodlife.com/health/112475-10-habits-that-hurt-your-brain/