สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในกลุ่มเด็กเล็ก เริ่มพบมีจำนวนเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตามพ่อแม่ผู้ปกครองและคนใกล้ชิด ควรหมั่นสังเกตสุขภาพของเด็กอยู่เสมอ
และควรสอนให้เด็กรู้จักรักษาสุขอนามัย เพื่อช่วยลดความเสี่ยงจากโควิด-19 ได้
ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.เอกชัย เพียรศรีวัชรา รองอธิบดีกรมอนามัย พร้อมด้วย นพ.ธีรชัย
บุญยะลีพรรณ รองผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ กรมอนามัย ร่วมแถลงการณ์ประเด็นดูแลป้องกันอย่างไรเมื่อเด็กปฐมวัยติดเชื้อ Covid-19
เนื่องจากการติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นของเด็กวัยประถม
นพ.เอกชัย
กล่าวว่า ในกลุ่มเด็ก 0-5 ปีที่ติดเชื้อโควิด-19
ในช่วง 7 วันที่ผ่านมามีจำนวนสูงถึง 6 พันกว่ารายซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อดูย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 64 – 17 ก.พ. 65 พบว่ามีเด็กวัยดังกล่าวติดเชื้อสะสม
107,059 ราย เสียชีวิต 29 ราย ซึ่งส่วนใหญ่ที่เสียชีวิตจะเป็นเด็กที่มีโรคประจำตัว
โดยสาเหตุหลักมาจากการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยติดเชื้อในครอบครัว
และการละเลยการดูแลสุขอนามัยสำหรับเด็ก
ทั้งนี้
ได้แนะนำหลักปฏิบัติเพื่อเป็นการลดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สำหรับเด็ก คือ 1. สอนให้เด็กล้างมือที่ถูกต้อง 2.
เด็กที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปี
ไม่แนะนำให้สวมหน้ากากอนามัย
เพราะเด็กอาจไม่รู้จักเอาหน้ากากออกเองเมื่อหายใจไม่ออก 3. หลีกเลี่ยงการพาเด็กไปรวมตัวคนหมู่มากหรือมีโอกาสใกล้ชิดผู้ป่วย
4. ทำความสะอาดบริเวณพื้นผิว เช่น โต๊ะ เก้าอี้
ของเล่นเป็นประจำ 5. หมั่นสังเกตสุขภาพเด็กอยู่เสมอ
โดยเด็กที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ ได้แก่ เด็กที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปี และเด็กที่มีโรคประจำตัว เนื่องจากจะมีอาการหนักหากได้รับเชื้อ
หลังจากพบว่าบุตรหลานติดเชื้อโควิด-19 จะมีแนวทางปฏิบัติในการรักษาอย่างไร นพ.ธีระชัย
ให้คำตอบว่า หากติดเชื้อโควิดทั้งผู้ปกครองและเด็กให้เข้ารับการรักษา
โดยผู้รักษาจะจัดเป็นกลุ่มครอบครัวให้ ถ้าหากเด็กติดเชื้อแค่ผู้ปกครองไม่ติด
ให้เด็กเข้ารักษาในโรงพยาบาลหรือ Hospitel ซึ่งอนุญาตให้ผู้ปกครองมาดูแลได้
โดยจะต้องดูแลตัวเองอย่างเข้มงวดเพื่อไม่ให้ติดเชื้อโควิดจากเด็ก แต่จะยกเว้นผู้สูงอายุและผู้มีโรคประจำตัวไม่ให้ตามเข้ามาดูแล
แต่ถ้าหากผู้ปกครองติดเชื้อแต่เด็กไม่ติด ให้ประสานญาติมารับเด็ก แต่หากไม่มี ทาง
พม. จะมีบ้านพักฉุกเฉินสำหรับเด็กไว้รองรับ
คำแนะนำในการดูแลรักษาตามอาการ
ถ้าหากมีไข้สามารถให้เด็กกินยาลดไข้ได้ ให้เน้นเช็ดตัวเพื่อป้องกันอาการช็อก
หรือให้กินพาราเซตามอล 10 ml ต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัม
ถ้ามีอาการไอ หรือมีน้ำมูก ให้กินยาแก้ไอและยาลดน้ำมูกได้ และถ้าหากถ่ายเหลว
แนะนำให้ดื่มเกลือแร่
ทั้งนี้
หากเด็กเล็กไม่สามารถ Home Isolation (HI) ได้ สามารถเข้า Community
Isolation ได้ ด้วยการติดต่อสาธารณสุขจังหวัด
โดยอนุญาตให้ผู้ปกครองตามเข้ามาดูแลได้ภายใต้การดูแลตัวเองอย่างเคร่งครัด
รวมถึงการตรวจ ATK ในเด็กต่ำกว่า 5 ปี
ไม่แนะนำให้แหย่โพรงจมูกลึกเท่าผู้ใหญ่
ทั้งนี้ให้เฝ้าระวังอาการหลังติดเชื้อโควิดอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเด็กส่วนใหญ่มีอาการป่วยไม่หนัก
แต่ในบางรายอาจมีอาการอักเสบหลายระบบ ซึ่งจะเกิดในสัปดาห์ที่ 2-8 หลังจากติดโควิด ทำให้เกิดไข้สูงเพิ่มขึ้นมา
นอกจากนี้ขอให้จับตาใกล้ชิด
โดยเฉพาะ 6 จังหวัดที่พบเด็กประถมติดเชื้อสูงสุด
ได้แก่กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ภูเก็ต ชลบุรี นนทบุรี และนครศรีธรรมราช
เน้นย้ำให้ผู้ปกครองใส่ใจดูแลบุตรหลาน
ขอให้คนในบ้านฉีดวัคซีนเพื่อเป็นเกราะป้องกันอีกขั้นหนึ่ง เน้น universal
prevention และ covid free setting รวมถึงคอยประเมินตัวเองด้วยThai
save Thai และหมั่นตรวจ ATK อย่างสม่ำเสมอ
ที่มา
thaihealth.or.th/Content/55895-แนะวิธีดูแลป้องกันเด็กเล็ก%20จากโควิด-19.html