ภาวะข้อเข่าเสื่อมเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุ
และมีโอกาสเกิดขึ้นได้ในกลุ่มวัยกลางคน มีแนวโน้มพบได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
จากปัจจัยการใช้ชิวิตประจำวัน เช่น อาหารการกินที่ไม่เหมาะสม การออกกำลังกายที่ไม่พอเหมาะ
เป็นต้น ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมทำให้เกิดอาการเจ็บปวด
ข้อเข่ามีผิดรูป ขาโก่ง เดินได้ไม่ปกติ มีปัญหาในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน
ทำให้เกิดความทุกข์ ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
โรคข้อเข่าเสื่อมเกิดขึ้นได้อย่างไร
?
1. ภาวะการเสื่อมแบบ ปฐมภูมิ หรือ ไม่ทราบสาเหตุ
ซึ่งเกิดจากอายุที่มากขึ้น มักพบในกลุ่มอายุที่มากกว่า 50 ปีขึ้นไป เป็นการเสื่อมสภาพของ
กระดูกอ่อนผิวข้อเข่า ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านโครงสร้างการรับน้ำหนัก
และมีผลต่อการทำงานกระดูกข้อต่อมีปัญหา โดยมีปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ อายุ เพศ น้ำหนัก
พฤติกรรม ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและกระดูก
2. ภาวะการเสื่อมแบบ ทุติยภูมิ
เป็นการเสื่อมที่มีสาเหตุนำมาก่อน ทั้งเกิดจากโรคประจำตัว เช่น
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคเก๊าต์ เป็นต้น หรือ
เกิดจากการเคยประสบอุบัติเหตุบริเวณกระดูกข้อเข่า ทั้งเส้นเอ็น หมอนรองกระดูก
รวมทั้งอาจจะเคยมีการติดเชื้อข้อเข่ามาก่อนก็สามารถทำให้เกิดภาวะข้อเข่าเสื่อมได้เช่นกัน
สัญญาณบ่งชี้ภาวะข้อเข่าเสื่อม
1. อาการปวดบริเวณเข่า ทั้งตอนเริ่มเคลื่อนไหวเหยียดงอเข่า
มีปวดเวลาเดินลงน้ำหนัก โดยเฉพาะตอนขึ้นบันได อาการจะดีขึ้นเมื่อนั่งพัก
2. อาการข้อเข่าติดขัด ฝืด ในข้อเข่า
มักจะพบอาการในตอนเช้าหลังตื่นนอน และเมือหยุดเคลื่อนไหวเป็นเวลานาน
3. รู้สึกว่ามีเสียงในเข่า กรึบกรับ เวลาขยับข้อเข่า
สามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่มีอาการปวด
4. กล้ามเนื้อต้นขาลีบ เมื่อเทียบกับอีกข้าง แต่อาจจะประเมินได้ยากในกลุ่มคนไข้ที่เริ่มมีภาวะข้อเข่าเสื่อมทั้งสองข้าง
5. เมื่อเริ่มมีภาวะข้อเข่าเสื่อมมากขึ้น
จะทำให้เกิดการผิดรูปของข้อเข่า ขาโก่ง/ขาฉิ่งมากขึ้น
หรือมีข้อเข่าหลวมร่วมด้วยเวลาเดิน
การรักษาภาวะข้อเข่าเสื่อม
การรักษาด้วยมีทั้ง
การรักษาด้วยยา/กายภาพบำบัด หรือ การผ่าตัดภาวะข้อเข่าเสื่อม
การรักษาทางเลือกโดยการไม่ผ่าตัด
:
·
รักษาด้วยยาแก้ปวด
ยาลดการอักเสบ หรือกลุ่มสารอาหารเสริมสร้างกระดูก
·
ในปัจจุบัน
จะเริ่มการรักษาด้วย ยาแก้ปวดกลุ่มพาราเซตามอล
และยาต้านการอักเสบที่ไมใช่สเตียรอยด์ รวมทั้งอาจจะมียาเสริมด้วย
ยากลุ่มกลูโคซามีนซัลเฟต [Glucosamine sulfate] เพื่อช่วยชะลอภาวะเสื่อม และซ่อมแซมผิวข้อ
·
การฉีด
สารเข้าข้อเข่า ในปัจจุบันมีการพัฒนา เป็นสารน้ำเลี้ยงไขข้อ มีหลายรูปแบบ
ที่สามารถช่วยลดอาการปวดได้
·
การทำกายภาพบำบัด
เช่น การบริหารกล้ามเนื้อข้อเข่าให้แข็งแรง การใช้ความร้อน การฝังเข็ม
การรักษาด้วยการไม่ผ่าตัด
จำเป็นต้องให้ผู้ป่วยให้ความร่วมมือ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด
ข้อเข่าเสื่อมลุกลาม เช่น การลดน้ำหนักให้เหมาะสม การออกกำลังกายเพื่อเสริม
สร้างกล้ามเนื้อรอบเข่า
การใช้ชีวิตประจำวันที่เสี่ยงให้เกิดการบาดเจ็บเพิ่มเติม
เช่นการนั่งพับเพียบเป็นเวลานาน การนั่งคุกเข่า เป็นต้น
เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ในการรักษาที่ดี
การรักษาด้วยการผ่าตัด ในปัจจุบันจะแบ่งตามกลุ่มอายุ
และสาเหตุที่ทำให้เกิดข้อเข่าเสื่อมของผู้ป่วย
·
ในกลุ่มผู้ป่วยอายุน้อย
ที่อาจจะเกิดจากอุบัติเหตุ หรือมีขาผิดรูป จะเป็นการผ่าตัดปรับแนวข้อเข่า
โดยการแก้ไขแนวแรงให้กระจายไปยังจุดที่ผิวข้อมีสภาพดี เพื่อลดอาการปวด
·
ในกลุ่มผู้ป่วยอายุมากกว่า
50-60 ปี
อาจจะพิจารณาการผ่าตัด เปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียม โดยมีทั้งแบบ การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งหมด
หรือการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมบางส่วน ซึ่งแต่ละวิธีมีข้อบ่งชี้
และข้อจำกัดที่แตกต่างกันออกไป
ขอขอบคุณแหล่งที่มา:
https://www.gj.mahidol.ac.th/main/knowledge-2/knee-osteoarthritis